ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง (Female Reproductive System)
ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงเป็นระบบที่ทำหน้าที่คล้ายกับระบบสืบพันธุ์เพศชาย ซึ่งนอกจาก สร้างเซลล์สืบพันธุ์คือเซลล์ไข่ และสร้าง hormone เพศหญิงแล้ว ยังทำหน้าที่ดูแลฟูมพักให้ เซลล์ไข่ที่ผสมติดให้พัฒนากลายเป็นตัวอ่อนจนคลอดออกมา ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงประกอบด้วย
อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
- เนินหัวเหน่า (mone pubis) เป็นผิวหนังนูนอยู่บริเวณเหนือกระดูกหัวเหน่า (pubic symphysis) เมื่อเข้าสู่วัยสาวจะมีขนงอกขึ้นที่บริเวณนี้
- แคมใหญ่ (labia majora) เป็นผิวหนังที่ต่อมาจากทางด้านล่างของเนินหัวเหน่า มีลักษณะนูนแยกเป็น 2 กลีบลงไปบรรจบกันทางด้านหลังที่บริเวณผีเย็บ
- แคมเล็ก (labia minora) เป็นชั้นผิวหนังที่ยกตัวขึ้นเป็นกลีบเล็กๆ สีแดง 2 กลีบทางด้านในของแคมใหญ่
- clitoris มีลักษณะเป็นตุ่มเล็กๆ เป็นอวัยวะที่เทียบได้กับ glans penis ในเพศชาย และมีโครงสร้างเป็น erectile tissue เช่นกัน มีหลอดเลือดและปลายประสาทรับความรู้สึกมาเลี้ยงเป็นจำนวนมาก ดังนั้นหากเกิดการฉีกขาดที่บริเวณนี้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในขณะคลอด จะทำให้เจ็บ เสียเลือดมาก และเย็บติดได้ยาก
- vestibule เป็นบริเวณที่อยู่ระหว่างแคมเล็กทั้งสองข้าง ตั้งแต่ clitoris ลงไปจนถึง fourchette บริเวณนี้มีรูเปิดของท่อต่างๆ ดังนี้
- รูเปิดของท่อปัสสาวะ (urethral orifice) จะอยู่ถัดจาก clitoris ราว 1 ซม.
- รูเปิดของช่องคลอด (vaginal orifice) อยู่ถัดไปอีก มีเยื่อพรหมจารีย์ปิดอยู่
- รูเปิดของ Bartholin's gland และ paraurethral gland อย่างละ 1 คู่
- Bartholin's gland (greater vestibular gland) เป็นต่อมเล็กๆ ขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียวพบอยู่ 2 ข้างของรูเปิดของช่องคลอด ต่อมนี้เปรียบเทียบได้กับต่อมคาวเปอร์ในเพศชาย จะให้ท่อออกมาเปิดที่บริเวณระหว่างเยื่อพรหมจารีย์กับแคมเล็ก ทำหน้าที่สร้างเมือกหล่อลื่น และมีฤทธิ์เป็นด่างเพื่อลดความเป็นกรดในช่องคลอด
- ฝีเย็บ (perineum) เป็นบริเวณรูปสี่เหลี่ยม (diamond-shape) โดยลากเส้นตรงเชื่อมต่อระหว่าง ischial tuberosity ทั้ง 2 ข้างจะแบ่งฝีเย็บออกเป็นบริเวณรูปสามเหลี่ยม 2 รูปคือด้านหน้าเรียก urogenital triangle เป็นที่ตั้งของอวัยวะเพศภายนอกทั้งหมด และด้านหลังเรียกว่า anal triangle จะพบรูเปิดของทวารหนักอยู่ บริเวณที่อยู่ระหว่างช่องคลอดกับทวารหนัก
อวัยวะสืบพันธุ์ภายใน
- ช่องคลอด (vagina)
ช่องคลอด ตั้งอยู่ระหว่างทวารหนักและท่อปัสสาวะ ผนังภายในช่องคลอดมีลักษณะเป็นรอยย่นตามขวาง เรียกว่า rugae ทำให้ผนังช่องคลอดสามารถยืดขยายตัวได้ บุด้วยเยื่อบุผิวชนิด stratified squamous epithelium ซึ่งจะมีเซลล์ชั้นล่างเจริญขึ้นมาแทนที่เซลล์ชั้นบนสุด ซึ่งมีการลอกหลุดออกไปบ้าง ในขณะที่มี estrogen สูงจะกระตุ้นให้เซลล์เยื่อบุผิวสร้างสาร glycogen ออกมา เพื่อให้แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในช่องคลอดคือ Doderlein bacilli ทำการสลายให้กลายเป็น lactic acid ทำให้ภายในช่องคลอดมีสภาพเป็นกรด
- รังไข่ (ovary)
รังไข่ มีอยู่ 2 ข้าง มีลักษณะเป็นรูปไข่แบน มีขนาด 3 x 1.5 x 1 เซ็นติเมตร หนักประมาณ 3 กรัม วางตัวอยู่ภายในอุ้งเชิงกรานทางด้านหลังของ broad ligament โดยมีเยื่อบุช่องท้องยึดระหว่างรังไข่ไว้กับ broad ligament เรียกว่า mesovarium ขอบด้านในของ mesovarium จะหนาตัวขึ้นเป็นพิเศษเรียก ligament of ovary ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างรังไข่กับมดลูก ภายใน mesovarium เป็นทางผ่านของหลอดเลือดที่มาเลี้ยงรังไข่
- ท่อนำไข่ (uterine tube, fallopian tube หรือ oviduct)ท่อนำไข่ เป็นท่อที่วางทอดตัวโค้งไปทางด้านหลัง อยู่ตรงขอบด้านบนของ broad ligament ซึ่งเป็นเยื่อบุช่องท้อง 2 ชั้นคลุมอยู่ ท่อนำไข่ยาวประมาณ 4 นิ้ว ปลายด้านหนึ่งจะเปิดออกสู่ช่องท้อง (peritonial cavity) ส่วนปลายอีก ข้างหนึ่งเปิดเข้าสู่โพรงมดลูก ท่อนำไข่ ทำหน้าที่เก็บเซลล์ไข่ที่หลุดออกจากรังไข่ เป็นบริเวณที่ผสมกันของเซลล์ไข่กับ sperm และนำเซลล์ไข่ทีผสมติดแล้วเดินทางเข้าสู่โพรงมดลูก
- มดลูก (uterus)
มดลูก เป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายลูกแพร์หรือลูกชมพู่ มีผนังเป็นกล้ามเนื้อเรียบหนา ตั้งอยู่ด้านหลังของกระเพาะปัสสาวะและด้านหน้าของทวารหนัก ในระยะที่ไม่ตั้งครรภ์มดลูกจะมีความยาวประมาณ 3 นิ้ว กว้าง 2 นิ้ว หนา 1 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 50 - 60 กรัม เมื่อตั้งครรภ์ขนาดของมดลูกจะขยายใหญ่หลายเท่าและจะกลับสู่สภาพเดิมหลังคลอด เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนมดลูกก็จะเหี่ยวเล็กลงตามอิทธิพลของฮอร์โมน
โครงสร้างของผนังมดลูก แบ่งออกเป็น 3 ชั้นใหญ่ ๆ คือ
- ชั้นนอกสุดเรียกว่า perimetrium หรือ serosa
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเยื่อบุช่องท้องลงมาคลุมมดลูกเอาไว้ ทางด้านข้างจะกลายเป็น broad ligament ทางด้านหน้าเยื่อบุช่องท้องจะวกกลับไปคลุมกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดเป็นแอ่งระหว่างมดลูกกับกระเพาะปัสสาวะเรียกว่า vesicouterine pouch ส่วนทางด้านหลังเยื่อบุช่องท้องจะวกกลับไปคลุมไส้ตรง ทำให้เกิดแอ่งลึกระหว่างมดลูกกับไส้ติ่ง เรียกว่า rectouterine pouch (pouch of Douglas) ซึ่งเป็นแอ่งที่อยู่ต่ำที่สุดในช่องท้อง ถ้าหากเกิดการตกเลือดหรือมีการอักเสบในช่องท้องจะทำให้เลือดหรือหนองมาขังอยู่ในแอ่งนี้
- ชั้นกลางเรียกว่า myometrium ประกอบด้วยชั้นของกล้ามเนื้อเรียบที่หนาประมาณ 12-15 มิลลิเมตร ซึ่งมีการเรียงตัวทั้งแบบตามยาว วงกลม และแบบเฉียง ในช่วงตั้งครรภ์เส้นใยกล้ามเนื้อสามารถที่จะขยายให้ใหญ่ขึ้นและยืดยาวออกได้ถึง 10 เท่าตัว เมื่อคลอดบุตรแล้วกล้ามเนื้อของมดลูกจะหดเล็กลงตามเดิม
- ชั้นในสุดเรียกว่า endometrium ชั้นนี้จะมีเยื่อบุผิวชนิด simple columnar epithlium มีcilia ปะปนอยู่ ภายในมีต่อมชนิด simple coiled tubular gland ที่เรียกว่า uterine gland นอกจากนี้ยังมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันอยู่กันอย่างหลวม ๆ เรียกว่า stroma และหลอดเลือดที่มีลักษณะขดไปมาเรียกว่า spiral (coiled) artery ผนังชั้นนี้แบ่งออกเป็น 2 ชั้นคือ
- functional layer หรือ functionalis อยู่ติดกับโพรงมดลูกประกอบด้วยเยื่อบุผิวและ uterine gland และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (endometrium stroma) ชั้นนี้เป็นชั้นที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลาของรอบประจำเดือน และจะหลุดลอกออกไปขณะที่มีประจำเดือน
- basal layer หรือ basalis เป็นชั้นที่ติดกับ myometrium ชั้นนี้จะแบ่งเซลล์ให้เนื้อเยื่อเจริญขึ้นไปแทนที่ชั้น functionalis หลังจากที่มีการหลุดลอกออกไปเป็นเลือดประจำเดือนแล้ว
หน้าที่ของมดลูก
- เป็นแหล่งสำรองอาหาร รอรับการฝังตัวของตัวอ่อ
- เป็นที่เจริญเติบโตของทารกจนครบกำหนดคลอด
- เป็นอวัยวะที่ดันให้ทารกคลอดออกมาได้
วงจรการเจริญของไข่ (ovarian cycle)
เมื่อครั้งยังคงเป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์มารดานั้น ภายในชั้น cortex ของรังไข่จะมี ovarian follicle หลายล้านใบ เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์มี ovarian follicle เพียง 400,000 ใบ ส่วนใหญ่จะฝ่อไป (atresia) มีเพียง 400 - 500 ใบเท่านั้นที่เติบโตสมบูรณ์ครบวงจร จนพร้อมที่จะผสมพันธุ์ได้ ovarian follicle ที่พบในรังไข่มีหลายระยะดังนี้
เมื่อครั้งยังคงเป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์มารดานั้น ภายในชั้น cortex ของรังไข่จะมี ovarian follicle หลายล้านใบ เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์มี ovarian follicle เพียง 400,000 ใบ ส่วนใหญ่จะฝ่อไป (atresia) มีเพียง 400 - 500 ใบเท่านั้นที่เติบโตสมบูรณ์ครบวงจร จนพร้อมที่จะผสมพันธุ์ได้ ovarian follicle ที่พบในรังไข่มีหลายระยะดังนี้
- primodial follicle
พบได้ตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์มารดา ประกอบด้วย เซลล์ไข่ (primary oocyte) และเซลล์บริวาร (follicular cell) แบนๆ เพียงชั้นเดียว
growing follicle เป็น follicle ที่ได้รับการกระตุ้นจาก follicle stimulating hormone (FSH) จากต่อมใต้สมอง ทำให้ primary oocyte มีขนาดใหญ่ขึ้น และมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนซ้อนกัน - Graafian (mature) follicle เป็น follicle ที่เจริญเต็มที่ ระยะนี้ primary oocyte จะแบ่งตัวกลายเป็น secondary oocyte ต่อมา Graafian follicle จะเคลื่อนไปที่บริเวณผิวของรังไข่ พร้อมที่จะหลุดออกจากรังไข่เมื่อได้รับการกระตุ้นจากฮอร์โมน LH เรียกกระบวนการตกไข่นี้ว่า ovulation เซลล์ไข่ที่หลุดออกมาจากรังไข่เรียกว่า ovum ประกอบด้วย secondary oocyte ไปรอรับการผสมอยู่ในปีกมดลูก หากเซลล์ไข่นี้ไม่ได้รับการปฏิสนธิภายใน 24 ชั่วโมงก็จะสลายไป
- corpus luteum
หลังจากผนังของ follicle แตกทำให้ secondary oocyte หลุดออกจากรังไข่ไปแล้ว เห็นเป็นสีเหลือง ภายในรังไข่จะเหลือแต่ follicle เปล่าๆ จะทำหน้าที่สร้าง progesterone และ estrogen ออกมา ซึ่ง progesterone จะมีปริมาณที่มากกว่าเป็น แต่ถ้าเซลล์ไข่ไม่ได้รับการผสมและฝังตัวภายใน 14 วันหลังจากการตกไข่ corpus luteum ก็จะสลายตัวไป มีเซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพันเจริญเข้าไปแทนที่กลายเป็น corpus albican
การเจริญของเซลล์ไข่ (maturation of oocyte หรือ oogenesis)
การเจริญของเซลล์ไข่แตกต่างจากการเจริญของ sperm คือในแต่ละเดือนเซลล์ไข่สามารถเจริญพร้อมที่จะผสมกับ sperm ได้เพียง 1 ใบเท่านั้น ในขณะที่เพศชายสามารถผลิต sperm ได้จำนวนนับพันล้านตัวที่เจริญสมบูรณ์พร้อมที่จะเข้าไปผสมกับเซลล์ไข่ กระบวนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงแบ่งเป็นหลายขั้นตอนแต่ละขั้นตอนอาศัยเวลานานจึงจะเสร็จสิ้นได้เซลล์ไข่ที่สมบูรณ์ ซึ่งกระบวนการผลิตเซลล์ไข่ให้เจริญสมบูรณ์จนพร้อมที่จะผสมได้นั้นเรียกว่า oogenesis โดย เริ่มตั้งแต่ระยะที่เป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์มารดามี primodial germ cell เป็นเซลล์ต้นกำเนิดเจริญมาจากเนื้อเยื่อชั้น mesoderm เคลื่อนที่แทรกเข้าไปในรังไข่เรียกชื่อใหม่ว่า oogonia มี 46 chromosome (2n) oogonia มีการแบ่งเซลล์แบบ mitosis กลายเป็น primary oocyte ต่อมา primary oocyte ก็จะเจริญต่อไป จนถึงระยะ prophase ของการแบ่งเซลล์แบบ meiosis ครั้งที่ 1 ก็จะหยุดเจริญเติบโตเพียงแค่นี้ รอจนกว่าตัวอ่อนจะคลอดออกมาแล้วเจริญเติบโตจนเข้าสู่วัยสาว เมื่อได้รับการกระตุ้นโดย hormone จากต่อมใต้สมอง primary oocyte ซึ่งอยู่ภายใน primodial follicleก็จะเจริญต่อไปจนกลายเป็น growing และ graafian follicle ตามลำดับ และก่อนที่จะมีการตกไข่ primary oocyte ที่อยู่ใน graafian follicle ก็จะแบ่งเซลล์แบบ meiosis ครั้งที่ 1 โดยสมบูรณ์ ทำให้ได้เซลล์ 2 ชนิด ซึ่งมีจำนวนของ chromosome ลดลงครึ่งหนึ่งเป็น 23 chromosome (n) เซลล์ชนิดแรกเป็นเซลล์ขนาดใหญ่มี cytoplasm มากเรียกว่า secondary oocyte หรือ ootid เซลล์ชนิดที่ 2 มีขนาดเล็ก cytoplasm น้อยกว่าเรียกว่า first polar body ซึ่งทั้ง 2 เซลล์ยังคงอยู่ใน zona pellucida หลังจากนั้น secondary oocyte ก็จะหยุดการเจริญเติบโตอีกครั้ง รอจนกระทั่งมีการตกไข่ secondary oocyte และ first polar body ซึ่งมี zona pellucida และ corona radiata ห่อหุ้มก็จะเคลื่อนผ่านไปตามท่อนำไข่เมื่อ secondary oocyte ได้รับการผสมกับ sperm การแบ่งเซลล์แบบ meiosis ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นทันทีกลายเป็น mature ovum และ second polar body กรณีที่ไม่ได้รับการปฏิสนธิ secondary oocyte ก็จะไม่มีการแบ่งเซลล์และสลายตัวภายในท่อนำไข่ แล้วอีก 14 วันต่อมา primary oocyte กลุ่มใหม่ในรังไข่ก็จะได้รับการกระตุ้นโดย hormone จากต่อมใต้สมองให้สร้างเซลล์ไข่เซลล์ใบใหม่ต่อไป
การเจริญของเซลล์ไข่แตกต่างจากการเจริญของ sperm คือในแต่ละเดือนเซลล์ไข่สามารถเจริญพร้อมที่จะผสมกับ sperm ได้เพียง 1 ใบเท่านั้น ในขณะที่เพศชายสามารถผลิต sperm ได้จำนวนนับพันล้านตัวที่เจริญสมบูรณ์พร้อมที่จะเข้าไปผสมกับเซลล์ไข่ กระบวนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงแบ่งเป็นหลายขั้นตอนแต่ละขั้นตอนอาศัยเวลานานจึงจะเสร็จสิ้นได้เซลล์ไข่ที่สมบูรณ์ ซึ่งกระบวนการผลิตเซลล์ไข่ให้เจริญสมบูรณ์จนพร้อมที่จะผสมได้นั้นเรียกว่า oogenesis โดย เริ่มตั้งแต่ระยะที่เป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์มารดามี primodial germ cell เป็นเซลล์ต้นกำเนิดเจริญมาจากเนื้อเยื่อชั้น mesoderm เคลื่อนที่แทรกเข้าไปในรังไข่เรียกชื่อใหม่ว่า oogonia มี 46 chromosome (2n) oogonia มีการแบ่งเซลล์แบบ mitosis กลายเป็น primary oocyte ต่อมา primary oocyte ก็จะเจริญต่อไป จนถึงระยะ prophase ของการแบ่งเซลล์แบบ meiosis ครั้งที่ 1 ก็จะหยุดเจริญเติบโตเพียงแค่นี้ รอจนกว่าตัวอ่อนจะคลอดออกมาแล้วเจริญเติบโตจนเข้าสู่วัยสาว เมื่อได้รับการกระตุ้นโดย hormone จากต่อมใต้สมอง primary oocyte ซึ่งอยู่ภายใน primodial follicleก็จะเจริญต่อไปจนกลายเป็น growing และ graafian follicle ตามลำดับ และก่อนที่จะมีการตกไข่ primary oocyte ที่อยู่ใน graafian follicle ก็จะแบ่งเซลล์แบบ meiosis ครั้งที่ 1 โดยสมบูรณ์ ทำให้ได้เซลล์ 2 ชนิด ซึ่งมีจำนวนของ chromosome ลดลงครึ่งหนึ่งเป็น 23 chromosome (n) เซลล์ชนิดแรกเป็นเซลล์ขนาดใหญ่มี cytoplasm มากเรียกว่า secondary oocyte หรือ ootid เซลล์ชนิดที่ 2 มีขนาดเล็ก cytoplasm น้อยกว่าเรียกว่า first polar body ซึ่งทั้ง 2 เซลล์ยังคงอยู่ใน zona pellucida หลังจากนั้น secondary oocyte ก็จะหยุดการเจริญเติบโตอีกครั้ง รอจนกระทั่งมีการตกไข่ secondary oocyte และ first polar body ซึ่งมี zona pellucida และ corona radiata ห่อหุ้มก็จะเคลื่อนผ่านไปตามท่อนำไข่เมื่อ secondary oocyte ได้รับการผสมกับ sperm การแบ่งเซลล์แบบ meiosis ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นทันทีกลายเป็น mature ovum และ second polar body กรณีที่ไม่ได้รับการปฏิสนธิ secondary oocyte ก็จะไม่มีการแบ่งเซลล์และสลายตัวภายในท่อนำไข่ แล้วอีก 14 วันต่อมา primary oocyte กลุ่มใหม่ในรังไข่ก็จะได้รับการกระตุ้นโดย hormone จากต่อมใต้สมองให้สร้างเซลล์ไข่เซลล์ใบใหม่ต่อไป